วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคของสุกร


โรคของหมูที่สำคัญ คือโรคอะไร

[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

แม้ว่าการเลี้ยงหมูจะเจริญไปมากก็ตาม แต่ปัจจุบันยังประสบปัญหาเรื่องโรคและพยาธิต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น โรคอหิวาต์หมู โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งยังไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ จึงเป็นเหตุให้การเลี้ยงหมูในบ้านเรายังไม่เจริญก้าวหน้าถึงที่สุด ตลาดต่างประเทศยังไม่ยอมรับเนื้อหมูจากประเทศไทย ตลาดหมู จึงจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น โรคระบาดร้ายแรงที่เป็นอันตรายมาก ได้แก่
 
โรคอหิวาต์หมู
โรคอหิวาต์หมูเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมากและเป็นเฉพาะหมูเท่านั้น โรคนี้นำความเสียหายมาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก และเคยระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งทวีปเอเชีย
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ ทอร์เทอร์ซูอิส (Tortor suis) ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสหรือโดยทางอ้อมจากอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน นก แมลง หนู และสุนัข รวมทั้งคนซึ่งเป็นพาหะอย่างดีจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้โดยง่าย สาเหตุอีกประการที่ทำให้โรคนี้ระบาดได้เร็วคือ การเลี้ยงหมูด้วยเศษอาหารที่เก็บรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปะปนติดมา หากอาหารที่นำมาเลี้ยงนั้นไม่ได้ต้มให้เชื้อตายเสียก่อนแล้ว หมูจะได้รับเชื้อทันที
อาการ หมูที่ติดโรคนี้เริ่มแรกจะมีอาการหงอยซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีอาการสั่น หลังโก่ง หูและคอตก ขนลุก ไม่ค่อยลืมตา เยื่อตาอักเสบนัยน์ตาแดงจัด มักมีขี้ตาสีขาวสีเหลืองแถวบริเวณหัวตาก่อน แล้วแผ่ไปเต็มลูกนัยน์ตา อาจทำให้ตาปิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผิวหนังบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณท้อง โคขา ใบหู มีลักษณะช้ำเป็นผื่นแดงปนม่วงเป็นเม็ดๆ เนื่องจากเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนังเห็นได้ชัดกับหมูที่มีผิวหนังขาว หมูจะอ่อนเพลีย ชอบนอนซุกตามมุมคอก
หมูที่เป็นโรคนี้จะมีอาการท้องผูกในตอนแรก ต่อมาจึงมีอาการอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองๆ เวลาเดินตัวสั่นเพราะไม่มีแรงทรงตัว มีอุจจาระร่วงและไข้ลดลง แต่มีอาการหอบเข้าแทรกจนกระทั่งตาย หมูที่เป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 90 มักตาย โรคอหิวาต์หมูเป็นได้กับหมูทุกระยะการเจริญเติบโต
การป้องกันและรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้กับหมูทุกๆ ตัว ปีละครั้ง สำหรับหมูที่เพิ่งแสดงอาการเป็นโรคนี้อาจฉีดเซรุ่มรักษาให้หายได้
โรคปากและเท้าเปื่อย
โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่มีกีบคู่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมู โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ แต่จะซูบผอมลงเพราะกินอาหารไม่ได้ สัตว์ที่กำลังให้นมจะหยุดให้นมชั่วระยะหนึ่งและจำนวนน้ำนมจะลดลง
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีแบบต่างๆ กัน ในประเทศไทยเป็นแบบเอ โอ และเอเชีย 1 โรคนี้ติดต่อได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ หรือติดต่อทางสัมผัสเมื่อหมูคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้แมลงวันก็เป็นพาหะของโรคนี้ด้วย
อาการ อาการหมูที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเริ่มเบื่ออาหาร มีไข้สูง จมูกแห้ง เซื่องซึม ภายในปากอักเสบแดง ต่อมามีเม็ดตุ่มแดงที่เยื่อภายในปาก บนลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ตามบริเวณซอกกีบ ตุ่มเหล่านี้จะเกิดพุพองและกลัดหนองแล้วแตกเฟะ ทำให้หมูกินอาหารและน้ำไม่สะดวก มีน้ำลายไหลอยู่เสมอ เท้าเจ็บ เดินกะเผลก บางตัวต้องเดินด้วยเข่า หรือเดินไม่ได้ บางตัวที่เป็นมากกีบจะเน่าและหลุดออก ทำให้หมูหมดกำลังและตายในที่สุด
การป้องกันและรักษา ควรฉีดวัคซีนให้ 6 เดือนต่อครั้ง และประการสำคัญอย่าเลี้ยงสัตว์ประเภทกีบคู่ใกล้กันเพราะสามารถติดต่อกันได้ และอย่าให้คนเลี้ยงหมูจากที่อื่นเดินมาในบริเวณเลี้ยงหมูโดยไม่ได้จุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อเสียก่อน




การให้อาหารสุกร


การให้อาหารสุกร

1) การให้อาหารแห้ง-ให้อาหารเปียก (Dry&wet Feeding)
อาหารแห้ง นิยมให้มากกว่าอาหารเปียก เพราะเก็บไว้ได้นานและสุกรกินได้มาก
อาหารเปียก
  • ข้อเสีย คือชื้นและเสียได้ง่าย เก็บไว้ได้ไม่นาน
  • ข้อดีคือ ทำให้สัตว์ย่อยได้ดีขึ้น ลดการฟ่ามของอาหาร ใช้กันมากในผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
2) การให้อาหารใส่ในราง หรือพื้น (Floor & Trough Feeding )
2.1การให้ในรางอาหาร นิยมกันมากกว่าการให้ที่พื้น
  • ข้อเสีย คือต้องให้เพียงพอกับความต้องการของสุกรถ้าให้น้อยสุกรจะแย่งกันกินอาหาร
  • ข้อดีคือ ไม่สูญเสียอาหารเกินที่จำเป็น
2.2 การให้ที่พื้น
  • ข้อดี สุกรกินได้อย่างทั่วถึง สุกรไม่แย่งกันกินอาหาร
  • ข้อเสีย พื้นต้องเป็นพื้นทึบ ทำให้อาหารกระจัดกระจาย อาหารปนเปื้อนกับปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์
3) การให้อาหารแบบกินเต็มที่หรือแบบจำกัด (Restricked & Full Feeding)(Ad Libitum)
  • ให้ตามช่วงระยะเวลาตามความต้องการของผู้เลี้ยงว่าจะจำกัดการให้เป็นเท่าใด ทำให้สุกรโตอย่างเต็มที่ โตได้เร็ว
  • ให้ตามความต้องการของสุกร ทำให้อัตราการไหลผ่านของอาหารเร็วขึ้น ย่อยได้ไม่ดี และการย่อยไม่สมบูรณ์
  • ควรจำกัดอาหาร 10-20% สุกรจะกินอาหารได้ 80-90% สุกรมีความสามารถในการย่อยได้ดีที่สุด,FCR ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการใช้อาหารได้ดีที่สุด
  • จะเริ่มจำกัดอาหารเพื่อให้สุกรสะสมไขมันน้อย สำหรับสุกรขุน
  • ถ้าเป็นสุกรให้ลูกจะให้กินเต็มที่ เพราะแม่สุกรจะสูญเสียน้ำหนักตัวจากการคลอด
  • สุกรที่เป็นพ่อพันธ์และแม่พันธุ์ จะจำกัดอาหาร
4) การให้อาหารแบบกลุ่มหรือแยกเดี่ยว(Group & Individual Feeding )
  • สุกรแม่พันธุ์ให้เดี่ยว
  • แม่พันธุ์ตั้งแต่ลูกหย่านมจนถึงผสมใหม่ ให้แบบเป็นกลุ่ม
  • การให้แบบเป็นกลุ่ม นิยมให้กับสุกรเล็ก,สุกรขุน สุกรที่นำมาเลี้ยง ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน จะกี่ตัวก็ได้แล้วแต่ขนาดของคอก
  • การให้แบบแยกเดี่ยว เมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพของสุกร,ศึกษาข้อมูลสุกรในการคัดเลือกสุกร,งานวิจัยต่าง ๆ
 

การจัดการ

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร

1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความเข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก

การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอและตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน

  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)

  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงสุกร




        
การเลี้ยงสุกรให้ประสบณ์ความสำเร็จ ต้นทุนต่ำ กำไรสูง 

องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงมี 3 ประการที่สำคัญ ดังนี้
1. สุขภาพสัตว์
            ลูกสุกร และสุกรขุน จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค ในการเลี้ยงต้องดูแลสุขภาพดังนี้
     - ลูกสุกรทุกตัว ต้องได้รับการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนอหิวาต์สุกร,  ถ่ายพยาธิภายนอกภายใน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เนื่องจากจะทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต
     - ลูกสุกรเมื่องนำมาลงขุน ต้องมีการเสริมวิตามิน เพื่อลดความเครียดอันเกิดจากการย้ายลงขุน
     - นำสุกรมาจากแหล่งที่มีการจัดการ ฉีดวัคซีนในแม่พันธุ์อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดต่อมาถึงลูกสุกร เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบ พิษสุนัขบ้าเทียม โรคปากเท้าเปื่อย เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อม        ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม "นิวทรีน่า" ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง จะเกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลให้การเลี้ยงสุกรมีต้นทุนที่ต่ำ ลดความสิ้นเปลืองอาหารและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง หากเกษตรกรมีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสุกร ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึงประกอบไปด้วย
   2.1 การทำม่านป้องกันลมโกรก ลูกสุกรเมื่อเิริ่มลงขุน จนถึงน้ำหนัก 50 กก. ต้องทำม่านป้องกันลมเพื่อป้องกันปัญหาโรคปอด และลูกหมูขี้ไหล เมื่อหมูมีน้ำหนัก 50 กก. ขึ้นไปจึงจะสามารถเปิดม่านได้
   2.2 พื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้น ลูกสุกร เมื่ออยู่กับพื้นที่เปียกชื้น จะมีปัญหาด้านปอด สุขภาพไม่สมบูรณ์ วัสดุที่สามารถช่วยซับความชื้นและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ฟาง แกลบ ขี้เลื่อย ซึ่งวัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาปนกับขี้ สามารถทำความสะอาดไ้่้้ด้ง่าย โดยกวาดออกและนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปใส่ไร่นาและสวนผักได้
  2.3 ถังอาหาร
       - ถังหมุน ถังกลม จะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อลูกสุกร
       - ความสูงของถังหมุน จะต้องมีความสูงในระดับปากของสุกร เพื่อให้สามารถกินอาหารได้
       - ปริมาณอาหารที่ใส่ในถังหมุน ถังกลม จะต้องทำให้ลูกสุกรสามารถใช้แรงหมุนถังเพื่อปล่อยอาหารได้ และลูกสุกรเมื่อแรกลงขุน ควรจะเทอาหารให้มีความสูงเพียง 1 ใน 3 ของความสูงของถังหมุน
      - กรณีเป็นรางอาหาร ความกว้างของรางอาหารต้องมีขนาดเท่ากับไหล่ของสุกร
   2.4 น้ำ น้ำที่ให้แบบจุ๊บน้ำ จำนวนของจุ๊บน้ำต้องมีอย่างน้อย 2 หัว / 1 คอก อัตราการไหลของน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 1 ลิตร / นาที
   2.5 จำนวนสุกรต่อคอก  สูงสุดต้องไม่เกิน 20 ตัว / คอก
   2.6 ขนาดพื้นที่สุกรต่อตัว  ไม่ต่ำกว่า 1 - 1.6 ตารางเมตร / ตัว
3. โภชนาการอาหาร  
การเลี้ยงสุกร จำเป็นต้องทำให้สุกรได้รับคุณค่าอาหารที่ครบถ้วน และตรงตามความต้องการของสุกรแต่ละระยะ "นิวทรีน่า" ได้ออกแบบโภชนาการอาหารให้เหมาะสมตามความต้องการของสุกรแลระยะ สิ่งที่นิวทรีน่าได้มอบคุณค่าทางโภชนาการแก่เกษตรการดังนี้
  3.1 การคำนวนตามโภชนาการที่สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งแตกต่างจากการคำนวนสูตรโดยทั่วไป ทำให้เกษตรกรได้ต้นทุนที่ถูกที่สุด และใช้นิวทรีน่าได้คุ้มค่าต่อการลงทุน จะเห็นได้จากอาหารนิวทรีน่า ทำให้สุกรโตไว ใช้อาหารน้อยกว่า เมื่อสุกรถึงเวลาจับขาย
  3.2 การให้อาหารควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้อาหารมีความสด แต่อาหารต้องไม่ขาดราง เพราะจะทำให้ระบบน้ำย่อยสุกรผิดปกติ

ประวัติการเลี้ยงสุกร

ประวัติของการเลี้ยงสุกร
          เริ่มในยุค Neolithesage สุกรที่พบมีต้นกำเนิดมาจากสุกรป่ายุโรป มีชื่อวิทยาศาสตร์ Sus scrofa และสุกรที่พบในแถบเอเซียอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Sus Vittatus ชาติแรกที่ในมาเลี้ยงคือจีน เลี้ยงแบบปศุสัตว์เกือบ 5,000 ปี ก่อน คศ. 800 ปีก่อน ค.ศ. มีบันทึกว่าอังกฤษนำมาเลี้ยง แพร่ไปเขตอเมริกาโดยโคลัมบัส เข้าไปในช่วง ค.ศ. 1539 (ปีที่พบดินแดนใหม่)ไปสู่รัฐฟอริดา โดยชาวสเปนนำสุกรไปแพร่หลาย ไทยเริ่มเลี้ยงโดยชาวจีนที่อยู่ในไทย โดยเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและอาชีพเสริม เป็นสุกรพันธุ์พื้นเมืองของชาวจีนและไทย เช่นพันธุ์ไหหลำ ที่นำมาจากต่างประเทศ คือ พ.ศ. 2461 พันธุ์ Large Black, Essex จากประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2482,2492 พันธุ์ Midle White,Berkshire และ Worth จากยุโรปและอเมริกา ฯลฯ การเริ่มต้นในการเลี้ยงสุกร
swine1-1